วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

๑๒ นางในวรรณคดีไทย

1

นางในวรรณคดีไทย : มโนราห์ จาก พระสุธน-มโนราห์
มโนราห์ จาก พระสุธน-มโนราห์ 

2
นางในวรรณคดีไทย : มัทนา จาก มัทนพาธา
มัทนา จาก มัทนพาธา 

3
นางในวรรณคดีไทย : อันโดรเมดา  จาก วิวาห์พระสมุทร
อันโดรเมดา จาก วิวาห์พระสมุทร 

4
นางในวรรณคดีไทย : ตะเภาทอง จาก ไกรทอง
ตะเภาทอง จาก ไกรทอง 

5
นางในวรรณคดีไทย : ไอ่คำ  จาก ผาแดง-นางไอ่
ไอ่คำ จาก ผาแดง-นางไอ่ 

6
นางในวรรณคดีไทย : เพื่อนพี่แพงน้องสองสมร จาก พระลอ
เพื่อนพี่แพงน้องสองสมร จาก พระลอ 

7
นางในวรรณคดีไทย : รจนา  จาก สังข์ทอง
รจนา จาก สังข์ทอง 

8
นางในวรรณคดีไทย : ศกุนตลา  จาก บทละครรำ ศกุนตลา
ศกุนตลา จาก บทละครรำ ศกุนตลา 

9
นางในวรรณคดีไทย : ละเวงวัณฬา จาก พระอภัยมณี
ละเวงวัณฬา จาก พระอภัยมณี 

นางในวรรณคดีไทย : ลำหับ  จาก เงาะป่า
ลำหับ จาก เงาะป่า 

นางในวรรณคดีไทย : ระเด่นบุษบา จาก อิเหนา
ระเด่นบุษบา จาก อิเหนา 

นางในวรรณคดีไทย : ประทุมวดี  จาก ละครนอกเรื่องโสวัต
ประทุมวดี จาก ละครนอกเรื่องโสวัต 



วันภาษาไทยแห่งชาติ


ความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ
          
          สืบเนื่องจากคณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย และมีความห่วงใยในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อภาษาไทย รวมถึงเพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยทั้งชาติได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือกันทำนุบำรุง ส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป จึงได้เสนอขอให้รัฐบาลประกาศให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ เช่นเดียวกับวันสำคัญอื่น ๆ ที่รัฐบาลได้จัดให้มีมาก่อนแล้ว เช่น วันวิทยาศาสตร์, วันสื่อสารแห่งชาติ เป็นต้น และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 เห็นชอบให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ 


เหตุผลที่เลือกวันที่ 29 กรกฎาคม เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ

           สำหรับเหตุผลที่เลือกวันที่ 29 กรกฎาคม เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ นั้นเพราะวันดังกล่าว ตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธาน และทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ทรงเปิดอภิปรายในหัวข้อ "ปัญหาการใช้คำไทย" โดยพระองค์ทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปราย ที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยรวมถึงความห่วงใยในภาษาไทย ซึ่งเป็นที่ประทับใจกับผู้ร่วมเข้าประชุมในครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง

            สำหรับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งนั้น มีใจความตอนหนึ่งว่า "เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษาก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้... สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก..."

            นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ซึ่งในโอกาสต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัยและความห่วงใยในภาษาไทยอีกหลายโอกาส อย่างในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ที่ได้ทรงมีพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า"ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้คำออกจะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคนจึงมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้ ฉะนั้นจึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษาไทย ซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกันเพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ"

            นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังมีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาไทย ทรงรอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทย คือ ภาษาบาลีและสันสกฤต ทรงพระวิริยอุตสาหะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยที่สมบูรณ์ด้วยลักษณะวรรณศิลป์ มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่า เป็นคติในการเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระราชนิพนธ์แปลบทความเรื่องสั้น ๆ หลายบท และพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก เป็นต้น


วัตถุประสงค์ในการจัดวันภาษาไทยแห่งชาติ มีดังต่อไปนี้

           1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใย และพระราชทานแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย

           2. เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542

           3. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติ ให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติ ให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

           4. เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับ ให้มีสัมฤทธิผลยิ่งขึ้น

           5. เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐฯ และเอกชนทั่วประเทศ มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่างๆ ไปสู่สาธารณชน ทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ และในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ


ประโยชน์ที่คาดว่าได้รับจากการมีวันภาษาไทยแห่งชาติ

           1. วันภาษาไทยแห่งชาติ จะทำให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐฯ และเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเตือน เผยแพร่ และเน้นย้ำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของ "ภาษาประจำชาติ" ของคนไทยทุกคน และร่วมมือกันอนุรักษ์การใช้ภาษาไทยให้มีความถูกต้องงดงามอยู่เสมอ

           2. บุคคลในวงวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะในวงการศึกษา และวงการสื่อสาร ช่วยกันกวดขันดูแลให้การใช้ภาษาไทยเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม มิให้ผันแปรเปลี่ยนแปลง จนเกิดความเสียหายแก่คุณลักษณะของภาษาไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

           3. ผลสืบเนื่องในระยะยาว คาดว่าปวงชนชาวไทยทั่วประเทศจะตื่นตัวและสนใจที่จะร่วมกันฟื้นฟู ทำนุบำรุง ส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์และสมบัติวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติให้ดำรงคงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป


กิจกรรมในวันภาษาไทยแห่งชาติ
          กิจกรรมในวันนี้ ก็จะมีทั้งของสถาบันการศึกษา, หน่วยงานภาครัฐฯ และเอกชน ที่จะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดนิทรรศการ,การอภิปรายทางวิชาการ, การประกวดแต่งคำประพันธ์ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง การขับเสภา การเล่านิทาน เป็นต้น

          ภาษาไทยถือเป็นภาษาแห่งชาติ และเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่เราคนไทยควรภาคภูมิใจ เพราะบางประเทศไม่มีแม้กระทั่งภาษาที่เป็นของตัวเอง ดังนั้นเราควรอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่ และสืบทอดต่อไปให้ลูกหลานได้ศึกษา หากเราคนไทยไม่ช่วยกันรักษาไว้ สักวันหนึ่งอาจจะไม่มีภาษาไทยให้ลูกหลานใช้ก็เป็นได้ 



อ้างอิง  http://hilight.kapook.com/view/26275

คำที่มักเขียนผิด


 คำที่เขียนถูกมักเขียนผิดเป็น
กงเกวียนกำเกวียนกงกำกงเกวียน 
 กงสุลกงศุล 
 กฎกฏ 
กฎหมาย กฏหมาย 
กบ (เต็ม,แน่น) เช่น เลือดกบปาก เลือดกลบปาก 
กบฏ   กบฎ, กบถ
 กบาล, กระบาล กะบาล, -บาน 
กระจิริดกระจิ๊ดริด , กะจิ๊ดริด
กระหนก (ลายไทย)กนก
กรีฑา (กีฬาประเภทหนึ่ง)  กรีทา, กรีธา
กรีธาทัพ (เคลื่อน ยก เดินเป็นหมู่หรือเป็นกระบวน)กรีฑาทัพ 
กะทันหัน  กระทันหัน 
กะเทยกระเทย
 กะบังลม กระบังลม 
 กะพง กระพง
กะพริบ   กระพริบ
 กะพรุน กระพรุน
กะเพรา กระเพรา 
 กังวาน กังวาล
กาลเทศะ   กาละเทศะ
 เกม เกมส์
 เกษียณอายุ เกษียนอายุ
เกษียนหนังสือ เกษียณหนังสือ,เกษียรหนังสือ
 เกษียรสมุทร เกษียณสมุทร,เกษียนสมุทร
 เกสรเกษร 
เกาต์  เก๊าท์
 แก๊ง แก๊งค์, แก๊งก์
 ขะมักเขม้น   ขมักเขม้น
 ข้าวเหนียวมูน ข้าวเหนียวมูล
 คทา  คฑา, คธา
ครอก (ฝูงลูกสัตว์ที่เกิดร่วมในคราวเดียวกัน) คลอก (ไฟล้อมเผาออกไม่ได้) 
 คริสตกาล  คริสต์กาล
 คริสตจักร  คริสต์จักร
คริสต์ทศวรรษ คริสตทศวรรษ 
 คริสต์ศตวรรษคริสตศตวรรษ 
 คริสต์ศักราช คริสตศักราช
คริสต์ศาสนา  คริสตศาสนา
ครุภัณฑ์คุรุภัณฑ์
ครุศาสตร์ คุรุศาสตร์
คลิกคลิ้ก, คลิ๊ก
คลินิก   คลีนิก, คลินิค
 ค้อน ฆ้อน
 คอนแวนต์ คอนแวนท์
 คะค๊ะ 
 คำนวณคำนวน 
 คุกกี้คุ้กกี้, คุ๊กกี้ 
 เครื่องราง เครื่องลาง 
เครื่องสำอาง เครื่องสำอางค์ 
แค็ตตาล็อก   แคตตาล็อก, แคตาล็อก
 แคระแกร็นแคระแกรน 
โควตา  โควต้า
งูสวัด   งูสวัส, งูสวัสดิ์
เงินทดรอง เงินทดลอง 
จงกรม จงกลม
จะงอย จงอย
จะจะจะ ๆ
จะละเม็ดจาละเม็ด, จาระเม็ด,       จรเม็ด, จระเม็ด
จักจั่นจั๊กจั่น 
จักรพรรดิ  จักรพรรดิ์
จักรวรรดิ จักรวรรดิ์
 จักสานจักรสาน 
 จาระบีจารบี 
 จำนง/เจตจำนง จำนงค์/เจตจำนงค์
 โจทก์จำเลย โจทย์จำเลย
โจทย์เลข โจกท์เลข 
โจษจัน โจทจัน,โจทย์จัน,โจษจรรย์ 
ฉัน ฉันท์ เสมือน เช่น ฉันญาติ ฉันมิตร; รับประทาน ใช้กับพระสงฆ์  ฉันท์
ชโลมชะโลม
 ชอุ่มชะอุ่ม 
ซาวเสียง ซาวด์เสียง, ซาวน์เสียง, ซาวนด์เสียง 
 ซ่าหริ่มสลิ่ม, ซะหริ่ม, ซ่าหลิ่ม 
ซีเมนต์ ซีเม็นต์, ซีเมนท์, ซีเม็นท์, ซีเม็น
เซ็นชื่อเซ็นต์ชื่อ
เซนติเมตรเซ็นติเมตร 
 ฌาน ฌาณ
ดอกจัน (เครื่องหมาย) ดอกจันทร์ ,ดอกจันทน์
ดอกไม้จันทน์  ดอกไม้จันทร์
ดัตช์  ดัชต์, ดัชท์, ดัทช์
 ดำรงดำรงค์ 
 โดยดุษณี (อาการนิ่งซึ่งแสดงถึงการยอมรับ) โดยดุษฎี (ความยินดี , ชื่นชม)
ตรรกะ, ตรรกตรรกกะ  
ตระเวน / ลาดตระเวนตระเวณ / ลาดตระเวณ
ตราสัง ตราสังข์
ตะราง (ที่คุมขังนักโทษ) ตาราง 
ต่าง ๆ นานา ต่าง ๆ นา ๆ  
ตานขโมยตาลขโมย 
เต็นท์  เต๊นท์
ใต้เท้าไต้เท้า 
ไต้ก๋ง  ใต้ก๋ง 
ไตรยางศ์ไตรยางค์
ถนนลาดยางถนนราดยาง
ทโมน ทะโมน, โทมน
ทยอยทะยอย
ทแยง ทะแยง, แทยง 
ทรงกลดทรงกรด 
ทรราช (ผู้ปกครองบ้านเมืองที่ใช้อำนาจสร้างความเดือดร้อน)ทรราชย์ 
ทระนง, ทะนงทรนง, ทนง 
ทลายทะลาย
 ทศกัณฐ์ทศกัณฑ์
ทอนซิลทอมซิน
ทะนุถนอมทนุถนอม
ทะลาย (ช่อหมาก, มะพร้าว)ทลาย (แตกหัก, พัง) 
ทะเลสาบทะเลสาป
เทคนิคเทคนิก
ทูนหัว ทูลหัว 
ทูลกระหม่อมทูนกระหม่อม
เท่เท่ห์
เทพนมเทพพนม
เทิด เทอด 
เทเวศร์เทเวศน์
 เท้าความ ท้าวความ
 แท็กซี่ แท๊กซี่
นอต น็อต, น๊อต 
นัยนัยยะ
นัยน์ตา นัยตา 
น้ำจัณฑ์น้ำจัน
น้ำมันก๊าดน้ำมันก๊าซ, -ก๊าส
น้ำแข็งไสน้ำแข็งใส
โน้ตโน๊ต, โน้ท, โน๊ท 
บ่วงบาศบ่วงบาศก์, บ่วงบาต, บ่วงบาท
บังสุกุล บังสกุล 
บัญญัติไตรยางศ์บัญญัติไตรยางค์
บัตรสนเท่ห์ บัตรสนเท่
บันได บรรได 
บันเทิงบรรเทิง 
บันลือบรรลือ
บางลำพูบางลำภู
บิณฑบาต บิณฑบาตร, บิณฑบาท
บิดพลิ้ว  บิดพริ้ว 
เบรกเบรค
ประกายพรึกประกายพฤกษ์
ประจัญบานประจันบาน, ประจันบาล, ประจัญบาล 
ประจันหน้า ประจัญหน้า
ประณตประนต
ประณม (การน้อมไหว้)ประนม (ยกกระพุ่มมือ)
ประณาม (กล่าวร้าย) ประนาม 
ปรากฏ  ปรากฎ
ปรานี (เอ็นดู) ปราณี (ผู้มีชีวิต) 
ปล้นสะดมปล้นสดมภ์
ปะแล่มปแล่ม, แปล่ม
ปาติโมกข์ปาฏิโมกข์ 
ปิกนิกปิคนิค 
ปุโรหิตปุโลหิต 
เปอร์เซ็นต์เปอร์เซนต์
ผล็อยผลอย
ผลัดเปลี่ยนผัดเปลี่ยน
ผลัดเวรผัดเวร 
ผอบผะอบ
ผัดวันประกันพรุ่ง ผลัดวันประกันพรุ่ง
ผัดหนี้ผลัดหนี้ 
ผาสุกผาสุข
เผอเรอเผลอเรอ
ผัดไทยผัดไท 
พะแนง พแนง, แพนง 
พะยอมพยอม 
พันทางพันธุ์ทาง
พัศดีพัสดี
พากย์หนังพากษ์หนัง
พานจะเป็นลม พาลจะเป็นลม 
พิศวาส พิสวาส 
พิสดารพิศดาร 
พิสมัยพิศมัย
พุทธชาดพุทธชาติ 
เพชฌฆาต เพชรฆาต, เพ็ชรฆาต
เพนียดพเนียด, พะเนียด
เพริศพริ้งเพริดพริ้ง
เพียบพร้อมเพรียบพร้อม
แพทยศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ 
โพนทะนาโพนทนา
โพสพโพศพ
ฟังก์ชันฟังก์ชั่น
ฟิล์ม  ฟิลม์, ฟิมล์, ฟิม์ล 
ฟุลสแก๊ปฟูลสแกป 
ไฟแช็กไฟแชค, ไฟแช็ค 
มงกุฎมงกุฏ
มณฑปมนฑป, มณทป 
ม่อห้อม, ม่อฮ่อม, หม้อห้อม หม้อฮ่อม 
มัคคุเทศก์ มัคคุเทศ, มัคคุเทศน์
มัคนายก, มรรคนายกมัคทายก, มรรคทายก
มัสตาร์ด มัสตาด 
 มัสมั่นมัสหมั่น 
 มานุษยวิทยามนุษยวิทยา 
ม่าเหมี่ยวมะเหมี่ยว
มุกตลกมุขตลก 
 ไมยราบ (พรรณไม้) ไมยราพ
ไมยราพณ์ (ตัวละครในรามเกียรติ์)ไมยราพ
ย่อมเยา ย่อมเยาว์
 รสชาติรสชาด 
ระเห็จ  รเห็จ, เรห็จ
รักษาการ (ปฏิบัติหน้าที่แทนชั่วคราว) รักษาการณ์
รักษาการณ์ (เฝ้าดูแลเหตุการณ์)รักษาการ
ราชัน (พระเจ้าแผ่นดิน)ราชันย์ (เชื้อสายของพระเจ้าแผ่นดิน)
แร็กเกต แร็กเก็ต
ลมปราณลมปราน 
ล็อกเกตล็อกเก็ต 
ละโมบลโมบ
ละเอียดลออ ลเอียดลออ, ละเอียดละออ 
ลายเซ็นลายเซ็นต์ 
ลิดรอนสิทธิ์ริดรอนสิทธิ์
ลิฟต์ลิปต์, ลิฟ, ลิฟท์  
ลำไยลำใย
ลูกนิมิตลูกนิมิตร
ลูกบาศก์ลูกบาศ
เล่นพิเรนทร์เล่นพิเรนท์
เลือนราง  เลือนลาง
เลิกรา เลิกลา 
โลกาภิวัตน์ โลกาภิวัฒน์ 
 โล่โล่ห์ 
ไล่เลียงไล่เรียง, ไร่เรียง, ไร่เลียง 
วันทยหัตถ์ วันทยาหัตถ์
วันทยาวุธวันทยวุธ 
วายชนม์วายชน 
วารดิถีวาระดิถี 
วิ่งเปี้ยววิ่งเปรี้ยว
วิ่งผลัดวิ่งผัด
วิหารคดวิหารคต 
 วีดิทัศน์วิดีทัศน์,วีดีทัศน์ 
เวทมนตร์ เวทย์มนตร์, เวทมนต์ 
เวนคืนเวรคืน 
สไบสะไบ, ไสบ
สังเกตสังเกตุ 
สันโดษสัญโดษ
สัมมนาสัมนา, สำมะนา 
สาบสูญสาปสูญ 
สาปแช่งสาบแช่ง
สามเส้าสามเศร้า
สายสิญจน์สายสิญจ์
 สิริมงคล ศิริมงคล
สีสวาดสีสวาท, สีสวาส
สุกียากี้สุกี้ยากี้
เสื้อกาวน์เสื้อกาว, เสื้อกาวด์ 
แสตมป์ สแตมป์ 
หมูหย็องหมูหยอง
หมาในหมาไน 
หมามุ่ย, หมามุ้ยหมาหมุ้ย
หย็องแหย็ง หยองแหยง 
หลงใหล หลงไหล 
หัวมังกุท้ายมังกรหัวมงกุฎท้ายมังกร
เหลวไหล เหลวใหล 
ใหลตาย (โรค)ไหลตาย 
องคชาตองคชาติ
อนุญาตอนุญาติ 
อนุมัติอนุมัต
อเนกประสงค์เอนกประสงค์
อเนจอนาถอเนถอนาถ
ออฟฟิศอ็อฟ-, -ฟิซ, -ฟิส, -ฟิต  
อ้อยควั่น  อ้อยขวั้น, อ้อยฟั่น 
อะลุ่มอล่วย, อะลุ้มอล่วย อลุ่มอล่วย, อะลุ่มอะหล่วย 
อะไหล่ อาหลั่ย, อาไหล่, อะหลั่ย 
อัญชันอัญชัญ
อัตคัด อัตคัต 
อานิสงส์ อานิสงฆ์ 
อาเพศ อาเพท, อาเภท 
อินทรี (ปลา, นก) อินทรีย์ (ร่างกายและจิตใจ) 
 อินฟราเรด อินฟาเรด, อินฟาร์เรด 
อิริยาบถ อิริยาบท 
อิเล็กทรอนิกส์ อิเล็คทรอนิกส์, อิเล็คโทรนิกส์ 
อีเมล อีเมล์
เอเชีย เอเซีย 
ไอศกรีม ไอศครีม, ไอติม, ไอสกรีม



อ้างอิง  http://hilight.kapook.com/view/62159

คำราชาศัพท์

      คําราชาศัพท์ ตามรูปศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์      
      แต่ในปัจจุบัน คำราชาศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำสุภาพ ไพเราะที่ใช้ให้เหมาะกับฐานะของบุคคลในสภาพสังคมไทย ซึ่งผู้ที่ต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วยมี ดังนี้





  1. พระมหากษัตริย์ 
  2. พระบรมวงศานุวงศ์ 
  3. พระภิกษุ 
  4. ขุนนางข้าราชการ 
  5. สุภาพชน
      
      ที่มาของคำราชาศัพท์
        คำราชาศัพท์ นั้น มีที่มาอยู่ 2 อย่าง คือ

  1. รับมาจากภาษาอื่น ภาษาเขมร เช่น โปรด เขนย เสวย เสด็จ เป็นต้น ภาษาบาลี-สันสกฤต เช่น อาพาธ เนตร หัตถ์ โอรส  เป็นต้น
  2. การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยการประสมคำ เช่น ลูกหลวงซับพระพักตร์ ตั้งเครื่อง เป็นต้น

คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้

เครื่องใช้
คำราชาศัพท์
เครื่องใช้
คำราชาศัพท์
เสื้อ

รองท้า

ของเสวย

ที่นอน

ม่าน, มุ้ง


ถาดน้ำชา

คนโทน้ำ


ผ้าอาบน้ำ

ปืน

เข็มขัด



ประตู

เตียงนอน

ผ้าเช็ดตัว
ฉลองพระองค์

ฉลองพระบาท

เครื่อง

พระยี่ภู่

พระวิสูตร พระสูตร

ถาดพระสุธารส

พระสุวรรณภิงคาร

พระภูษาชุบสรง

พระแสงปืน

รัดพระองค์ , ผ้าชุบสรง , ผ้าสรง พระปั้นเหน่ง

พระทวาร

พระแท่นบรรทม

ซับพระองค์ 
ผ้าเช็ดหน้า

กระจกส่อง

ข้าว



น้ำกิน


ตุ้มหู

ช้อน


ช้อนส้อม



ปิ่น

ไม้เท้า

หมาก

น้ำชา

เหล้า

กางเกง
ซับพระพักตร์

พระฉาย

พระกระยาเสวย( พระมหากษัตริย์ )

พระสุธารส


พระกุณฑลพาน

ฉลองพระหัตถ์


ฉลองพระหัตถ์ส้อม


พระจุฑามณี

ธารพระกร

พานพระศรี

พระสุธารสชา

น้ำจัณฑ์

พระสนับเพลา พระที่ (ราชวงศ์)


คําราชาศัพท์หมวดร่างกาย

ร่างกาย -- คำราชาศัพท์
ร่างกาย -- คำราชาศัพท์
ผม -- พระเกศา
ไหปลาร้า -- พระรากขวัญ
หน้าผาก -- พระนลาฎ
ท้อง -- พระอุทร
หลัง -- พระขนอง
นิ้วมือ -- พระองคุลี
บ่า -- พระอังสะ
จุก -- พระโมฬี
นม -- พระถัน, พระเต้า
นิ้วชี้ -- พระดรรชนี
จมูก -- พระนาสิก
ฟัน -- พระทนต์
อก -- พระอุระ, พระทรวง
หู -- พระกรรณ
เอว -- บั้นพระองค์, พระกฤษฎี
ลิ้น -- พระชิวหา
ผิวหนัง -- พระฉวี
ข้อเท้า -- ข้อพระบาท
ปอด -- พระปับผาสะ
ปาก -- พระโอษฐ์
คาง -- พระหนุ
รักแร้ -- พระกัจฉะ
ดวงหน้า -- พระพักตร์
ผิวหน้า -- พระราศี 
ลิ้นไก่ -- มูลพระชิวหา
ไรฟัน -- ไรพระทนต์
ตะโพก -- พระโสณี
แข้ง -- พระชงฆ์
นิ้วก้อย -- พระกนิษฐา
คอ -- พระศอ
เนื้อ -- พระมังสา
เหงื่อ -- พระเสโท
ปัสสาวะ -- พระบังคนเบา
สะดือ -- พระนาภี
อุจจาระ -- พระบังคนหนัก
ขน -- พระโลมา
เถ้ากระดูก -- พระอังคาร
น้ำลาย -- พระเขฬะ
ข้อมือ -- ข้อพระหัตถ์
คิ้ว -- พระขนง
น้ำตา -- น้ำพระเนตร,
ต้นขา -- พระอุรุ พระอัสสุชล
หัวเข่า -- พระชานุ
ต้นแขน -- พระพาหุ
ขนระหว่างคิ้ว -- พระอุณาโลม
เงา -- พระฉายา
จอนหู -- พระกรรเจียก




คําราชาศัพท์หมวดเครือญาติ ราชตระกูล
คำศัพท์
คำราชาศัพท์ 
คำศัพท์
คำราชาศัพท์ 
พ่อ
พระชนก พระบิดา 
แม่
พระชนนี,พระมารดา 
ปู่, ตา
พระอัยกาพระอัยกี 
ย่า, ยาย
พระอัยยิกา 
ลุง
พระปิตุลา 
ป้า
พระปิตุจฉา 
พี่ชาย
พระเชษฐา 
พี่สาว
พระเชษฐภคินี 
น้องชาย
พระอนุชา 
ลูกสะใภ้
พระสุณิสา 
พ่อผัว, พ่อตา
พระสัสสุระ 
พี่เขย, น้องเขย
พระเทวัน 
ผัว
พระสวามี 
ลูกเขย
พระชามาดา 


คําราชาศัพท์หมวดคำกิริยา
 คำศัพท์
คำราชาศัพท์
คำศัพท์
คำราชาศัพท์
ถาม
พระราชปุจฉา
ดู  
ทอดพระเนตร
ทักทายปราศรัย
พระราชปฏิสันถาร
ให้
พระราชทาน
ไปเที่ยว
เสด็จประพาส
อยากได้ 
ต้องพระราชประสงค์
ทาเครื่องหอม
ทรงพระสำอาง
เขียนจดหมาย 
พระราชหัตถเลขา
ไหว้
ถวายบังคม
แต่งตัว 
ทรงเครื่อง
อาบน้ำ
สรงน้ำ
มีครรภ์ 
ทรงพระครรภ์
ตัดสิน
พระบรมราชวินิจฉัย
หัวเราะ 
ทรงพระสรวล
นอน
บรรทม
รับประทาน 
เสวย
นั่ง
ประทับ
ป่วย
ประชวร
ไป
เสด็จ
ชอบ
โปรด





คําราชาศัพท์หมวดสรรพนาม 

คำที่ใช้แทน
คำราชาศัพท์ 
ใช้กับ
แทนชื่อผู้พูด (บุรุษที่ 1)
ข้าพระพุทธเจ้า 
กระผม, ดิฉัน 
พระมหากษัตริย์
ผู้ใหญ่, พระสงฆ์
แทนชื่อที่พูดด้วย (บุรุษที่ 2)
ใต้ฝ่าละอองธุรีพระบาท 
ใต้ฝ่าละอองพระบาท
พระมหากษัตริย์
พระบรมราชินี
พระบรมราชนนี
พระบรมโอสรสาธิราช
พระบรมราชกุมารี
แทนชื่อที่พูดด้วย
ฝ่าพระบาท 
เจ้านายชั้นสูง
แทนชื่อที่พูดด้วย
พระคุณเจ้า 
พระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์
แทนชื่อที่พูดด้วย
พระคุณท่าน 
พระภิกษุสงฆ์ทั่วไป
แทนชื่อที่พูดด้วย
พระเดชพระคุณ 
เจ้านาย, หรือพระภิกษุที่นับถือ
แทนผู้ที่พูดถึง (บุรุษที่ 3)
พระองค์ 
พระราชา, พระพุทธเจ้า, เทพผู้เป็นใหญ่
แทนผู้ที่พูดถึง
ท่าน  
เจ้านาย, ขุนนางผู้ใหญ่, พระภิกษุ, ผู้ใหญ่ที่นับถือ




คําราชาศัพท์หมวดพระสงฆ์
 คำสามัญ
ราชาศัพท์ 
คำสามัญ
ราชาศัพท์ 
สรงน้ำ
อาบน้ำ  
จังหัน
อาหาร 
คำสอน(พระสังฆราช)
พระโอวาท 
คำสั่ง(พระสังฆราช)
พระบัญชา 
จำวัด
นอน
ฉัน
รับประทาน
ธรรมาสน์(พระสังฆราช)
พระแท่น
จดหมาย(พระสังฆราช)
พระสมณสาสน์
นิมนต์
เชิญ
อาพาธ
ป่วย
ที่นั่ง
อาสนะ
จดหมาย
ลิขิต
ปัจจัย
เงิน
ปลงผม
โกนผม
เรือนที่พักในวัด
กุฏิ
ห้องอาบน้ำ
ห้องสรงน้ำ
ประเคน
ถวาย
เพล
เวลาฉันอาหารกลางวัน
ห้องสุขา
ถาน,เวจกุฎี
อาหาร
ภัตตาหาร
มรณภาพ
ตาย
ประเคน
ถวาย
คำแจ้งถวายจตุปัจจัย
ใบปวารณา
อาหารถวายพระด้วยสลาก
สลากภัต
อังคาด
เลี้ยงพระ
ลิขิต
จดหมาย
สถานที่พระภิกษุใช้อาศัย
เสนาสนะ
เครื่องนุ่งห่ม
ไตรจีวร
ยารักษาโรค
คิลานเภสัช
คนรู้จัก
อุบาสก,อุบาสิกา
รูป
ลักษณนามสำหรัพระภิกษุ
องค์
ลักษณนามสำหรัพระพุทธรูป


      การใช้คําราชาศัพท์ที่ควรสังเกตุ

      การใช้คำว่า “พระ” “พระบรม” “พระราช”
          “พระ” ใช้นำหน้าคำนามที่เป็นอวัยวะ ของใช้ เช่นพระชานุ พระนลาฏ พระขนง เป็นต้น
          “พระบรม”ใช้เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น พระบรมราโชวาท พระบรมราชานุเคราะห์ พระปรมาภิไธย เป็นต้น
          “พระราช” ใช้นำหน้าคำนาม แสดงว่าคำนามนั้นเป็นของ พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เช่นพระราชประวัติ พระราชานุญาต พระราชวโรกาส เป็นต้น

      การใช้คำว่า “ทรง” มีหลัก 3 ประการ คือ
     -   นำหน้าคำนามสามัญบางคำทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่นทรงรถ ทรงดนตรี ทรงช้าง ทรงเครื่อง เป็นต้น
     -   นำหน้าคำกริยาสามัญทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่นทรงวิ่ง ทรงเจิม ทรงออกกำลังกาย ทรงใช้ เป็นต้น
     -   นำหน้าคำนามราชาศัพท์ทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่นทรงพระราชดำริ ทรงพระอักษร ทรงพระดำเนิน ทรงพระราชนิพนธ์ เป็นต้นคำกริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ใช้ “ทรง” นำหน้า เช่นเสวย เสด็จ โปรด เป็นต้น

      การใช้ราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามสำนวนไทย ไม่นิยมเลียนแบบสำนวนต่างประเทศ
      ถ้ามาต้อนรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องใช้ว่า ประชาชนมาเฝ้า ฯ รับเสด็จ คำว่า”เฝ้าฯรับเสด็จ” ย่อมาจาก”เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ”ไม่ใช้คำว่า”ถวายการต้อนรับ”

      คำว่า”คนไทยมีความจงรักภักดี” หรือ”แสดงความจงรักภักดี” ใช้ได้ แต่ไม่ควรใช่คำว่า “ถวายความจงรักภักดี”

      การใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามเหตุผล
คำว่า “อาคันตุกะ” “ราชอาคันตุกะ” และ”พระราชอาคันตุกะ” ใช้ดังนี้ คือให้ดูเจ้าของบ้านเป็นสำคัญ เช่นแขกของพระมหากษัตริย์ ใช้คำว่า”ราช”นำหน้า ถ้าไม่ใช่แขกของพระมหากษัตริย์ก็ไม่ต้องมี”ราช”นำหน้า

      ในการถวายสิ่งของแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถ้าเป็นของเล็กยกได้ก็ใช้ “ทูลเกล้าฯ ถวาย”ถ้าเป็นของใหญ่ยกไม่ได้ใช้ “น้อมเกล้า ฯ ถวาย”



อ้างอิง http://www.rakjung.com/thai-no131.html#8